กรีนวิงค์ มาคอว์ คืออะไร

 Ara
chloropterus กรีนวิงค์ มาคอว์ เป็นนกแก้วมาคอว์ที่มีขนาดใหญ่ น่ารักเสียงดังคับป่า ชอบเล่นน้ำ กัดแทะ กินดินโปร่ง และผลไม้ทุกชนิด ลำตัวมีสีแดงสด ปีกมีสีเขียวและสีฟ้า หางมีสีแดงและสีฟ้า ลำตัวมีขนาดประมาณ 36 นิ้ว กรีนวิงมาคอร์ มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศ บราซิล โบลิเวีย ปานามา เป็นต้น

ลักษณะ

กรีนวิงค์ มาคอว์ เป็นนกแก้วมาคอว์ขนาดใหญ่ที่มีสีสันสวยงาม ด้วยลำตัวมีสีแดงสด ปีกมีสีเขียวและสีฟ้า หางมีสีแดงและสีฟ้า มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Ara ซึ่งมี 8 สายพันธุ์ แต่กรีนวิงค์ มาคอว์ มีลักษณะที่คล้ายกันกับ สกาเล็ต มาคอว์ ที่ต่างกันอยู่ที่ลำตัว,ใบหน้า,และปีก ที่ปีกของ สกาเล็ต มาคอว์ จะเป็นสีเหลืองกับสีฟ้าเข้มหรือน้ำเงินแต่มีบ้างที่จะมีสีเขียวปนอยู่บริเวณแถบสีเหลือง และใบหน้าของกรีนวิงค์ มาคอว์ เป็นหนังสีขาวออกชมพูมีลายขนที่หน้าสีแดงเรียงเป็นแถวเหมือนเส้นประสีแดงด้านล่างใต้ตามี4-5แถว ส่วน สกาเล็ต ใบหน้าจะไม่มีขนที่บริเวณใบหน้า กรีนวิงค์ มาคอว์ จะงอยปากข้างบนจะมีสีขาวคล้ายกับสีของงาช้าง ส่วนด้านล่างจะเป็นสีดำ มีขนาดลำตัวประมาณ 90-95 เซนติเมตร หรือประมาณ 34-36 นิ้ว น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1100-1750 กรัม แต่กรีนวิงค์ มาคอว์ ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศโบลิเวีย จะมีขนาดใหญ่กว่าที่

พฤติกรรม

กรีนวิงค์ มาคอว์ จัดเป็นนกแก้วที่มีเสียงร้องดัง และมักเลือกที่จะทำรังตามโพรงไม้ใหญ่ ๆ โดยใช้วิธีแทะหรือขุดโพรงไม้จำพวกไม้เนื้ออ่อน หรืออาจเลือกใช้โพรงไม้ที่เก่าต่าง ๆ กรีนวิงค์ มาคอว์ จะวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง และจะใช้เวลาฟัก ประมาณ 27-28 ประมาณ80-90 วัน ขนจะขึ้นเต็มตัว

นิสัย

กรีนวิงค์ มาคอว์ เป็นนกแก้วที่ฉลาดที่สุด ในนกแก้วมาคอว์ และเป็นนกที่เจ้าเล่ อุปนิสัย จัดว่าเป็นนกที่น่ารักและเชื่องมากพอสมควร สามารถทำกิจกรรมร่วมกับมนุษย์ได้ เป็นนกที่หวงและรักเจ้าของ แต่ถ้าได้ตีหรือทำให้ได้กลัว ก็จะจดจำฝังใจและจะตรงเข้าทำร้ายทันทีที่เห็น

อาหาร

อาหารของกรีนวิงค์ มาคอว์ ได้แก่ผักและผลไม้ต่างๆ เช่น แอ้ปเปิ้ล มะพร้าว ฟักทองนึ่ง ถั่วหลากชนิดนึ่งสุก , แครอท , มะพร้าว หรือ ลูกแมคคาเดเมีย และ ลูก เบอร์รี ด้วย

แหล่งกำเนิด

กรีนวิงค์ มาคอว์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบ ตะวันออกของ ปานามา และ แถบ แอทราโต โคลัมเบีย เวเนซูเอล่า บราซิล โบลิเวีย ปารากวัย และอาร์เจนติน่า

การอ้างอิง

แหล่งที่มาข้อมูล

แหล่งที่มาดั้งเดิม: ${vars.title} แบ่งปันกับ ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0

หมวดหมู่